วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

ข้อสอบกลางภาค ปีการศึกษา 2556 ข้อที่ 5

5. การประเมินผลการเรียนรู้และการประเมินหลักสูตรมีแนวคิด วิธีการ อย่างไร เพื่อที่จะทราบว่าหลักสูตรนี้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่กำหนดไว้หรือไม่
                การจัดทำหลักสูตรต้องกำหนดระบบการวัดประเมินผลการเรียนรู้ให้ชัดเจนเน้นการวัดการประเมินผลตามสภาพจริงที่ผู้สอนดำเนินการอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการจัดการเรียนการสอน ด้วยการใช้วิธีการประเมินผลอย่างหลากหลาย เช่น การทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถาม นอกจากนั้นควรเปิดโอกาสให้บุคคลจากภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินด้วยเพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านสำหรับการประเมิน อีกทั้งยังมีการประเมินตลอดช่วงระยะเวลาการเรียนรู้ เช่นก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน และติดตามผลสุดท้ายคือการนำผลการประเมินมาพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน

                ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การสรุปผลการเรียนตลอดช่วงระยะเวลาการเรียนรู้เช่น ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน โดยทั้งนี้การประเมินจะต้องมีความสอดคล้องกับแนวทางและทิศทางในกานสอนหรือที่กำหนดไว้ในหลักสูตรเพื่อการประเมินตามสภาพจริงนั้นจะได้มีความสมเหตุสมผลและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อการนำไปพัฒนาหลักสูตรต่อไป

ข้อสอบกลางภาค ปีการศึกษา 2556 ข้อที่ 4

4. การนำหลักสูตรไปใช้มีนักการศึกษาใดหรือใครที่เสนอแนะไว้ว่าควรคำนึงถึงปัจจัยใดบ้าง อย่างไร
1) ผู้เรียน  การที่จะนำหลักสูตรใหม่ไปทดลองใช้สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือผู้เรียน เพราะการจะนำเนื้อหาของหลักสูตรไปใช้ต้องคำนึงถึงระดับความรู้เดิมของผู้เรียน  รวมไปถึงความต้องการทาด้านจิตวิทยาต่างๆ ทั้งนี้เมื่อรู้ถึงปัจจัยต่างๆของผู้เรียนแล้ว  ก็จะสามารถคิดหาแนวทางในการจัดหลักสูตรได้
2) เนื้อหาของหลักสูตร เมื่อเราวิเคราะห์ผู้เรียนได้แล้ว เนื้อหาก็ต้องสอดคล้องกับผู้เรียน หรือการจัดทำแผนการสอนก็จะจัดทำให้มีความครอบคลุมและเหมาะสมกับเนื้อหาด้วย
3) ระยะเวลาดำเนินการ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือระยะเวลาในการสอนตลอดหลักสูตรว่าควรใช้เวลาเท่าไหร่ในการจัดการเรียนการสอนตามแผน เพราะช่วงระยะเวลาในการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการจัดการที่เหมาะสม

4) ผู้สอน ในการสอนนั้นผู้สอนถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ ดังนั้นการดำเนินการสอนตัวผู้สอนเองต้องทำความเข้าใจกับหลักสูตรและเนื้อหาที่จะนำไปสอนเพื่อให้การนำหลักสูตรไปใช้นั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ข้อสอบกลางภาค ปีการศึกษา 2556 ข้อที่ 3

3. การพัฒนาหลักสูตรมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่าง Model อธิบายองค์ประกอบแต่ละ Model และสรุปความเห็นกรณีที่องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร หายไปจะเกิดอะไร
     ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต้องตอบสนองทั้งด้านผู้เรียน ด้านสังคมและด้านความรู้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ พื้นฐานทางสังคม พื้นฐานทางจิตวิทยาและพื้นฐานทางปรัชญา  ข้าพเจ้าจะขอยกตัวอย่างรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรของ Ralph W. Tyler
รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตร  ราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์ (Ralph W. Tyler) มีดังนี้
               รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตร  ราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์  เป็นแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่รู้จักกันดี  คือ หลักการและเหตุผลในการสร้างโครงสร้างหลักสูตร ว่าในการจัดการหลักสูตรและการสอนนั้นควรจะตอบคำถามพื้นฐาน 4 ประการที่สำคัญ คือ
1.             มีความมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะแสวงหา
2.             มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
3.             จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ
4.             จะประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
โดยไทเลอร์ได้เน้นว่าคำถามจะต้องเรียงลำดับกันลงมา   นั่นก็หมายความว่าการตั้งจุดมุ่งหมายจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของไทเลอร์  ดังนั้นการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึง การกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาให้ผู้เรียน และการประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรด้วย



รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ การพัฒนาหลักสูตรจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร เริ่มด้วยการกำหนดจุดประสงค์ชั่วคราวโดยอาศัยข้อมูลจากการศึกษาสังคม ศึกษาผู้เรียน และข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชามาช่วยกำหนดจุดประสงค์อย่าง คร่าวๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าที่จะจัดเข้าไว้ในหลักสูตรได้ทั้งหมด จึงควรกลั่นกรองให้เหลือไว้เฉพาะจุดที่สำคัญและสอดคล้องกัน เป็นจุดประสงค์ขั้นสุดท้าย หรือจุดประสงค์ที่ใช้จริง ในการพิจารณากลั่นกรองจุดมุ่งหมายชั่วคราวนั้น จะใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้และหลักปรัชญามาประกอบการกลั่นกรอง
ขั้นที่ 2 การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนหลังจากกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตรแล้ว ขั้นต่อมา ทำการเลือกประสบการณ์การเรียน อันเป็นสื่อที่จะทำให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ในการเลือกประสบการณ์การเรียนจะต้องคำนึงถึง ลำดับก่อนหลัง ความต่อเนื่องและบูรณาการ (Integraty) ของประสบการณ์เหล่านั้น ทำได้ดังนี้
2.1  ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรมและเรียนรู้เนื้อหาตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
2.2 กิจกรรรมและประสบการณ์นั้นควรจะทำให้ผู้เรียนพึงพอใจที่จะปฏิบัติตามพฤติกรรมที่ได้ระบุไว้ในจุดประสงค์                                                                                                                         2.3  กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรจะอยู่ในขอบข่ายความพอใจที่พึงปฏิบัติได้
2.4  กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆด้านของการเรียนรู้อาจนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียว
2.5 ในทำนองเดียวกันกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพียงหนึ่งอย่างอาจตอบสนองจุดประสงค์หลายๆข้อได้
                ขั้นที่ การประเมินผล  เพื่อที่จะตรวจสอบว่าการจัดการเรียนการสอนได้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่
องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ มีดังนี้
1. จุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดผล
2. ประสบการณ์ ที่โรงเรียน
3. วิธีการจัดประสบการณ์
4. การประเมินผล
                จะเห็นได้ว่าในองค์ประกอบของหลักสูตรแต่ละองค์ประกอบนั้น ก็มีความสำคัญในตัวของมันเอง เราไม่สามารถตัดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งออกไปได้ เช่นหากไม่มีจุดมุ่งหมายแล้วก็ไม่สามารถดำเนินการจัดทำหลักสูตรได้  หากไม่มีประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดให้ก็ไม่มีส่วนใดที่เป็นสื่อในการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ การเลือกวิธีจัดประสบการณ์ก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อส่งเสริมการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  และสุดท้ายการประเมินก็เป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นนั้นดีแล้วหรือไม่  เช่นนี้แล้วการพัฒนาหลักสูตรนั้นต้องมีองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบที่เหมาะสมและส่งเสริมกันและกันจึงจะทำให้หลักสูตรออกมาประสบผลสำเร็จ

ข้อสอบกลางภาค ปีการศึกษา 2556 ข้อที่ 2

2. ในการพัฒนาหลักสูตรต้องอาศัยพื้นฐานการพัฒนาด้านใดบ้าง อย่างไร นักศึกษาเห็นว่าเนื้อหาสาระใดมีความสำคัญอย่างยิ่ง จงนำเสนอแนวคิดถึงความสำคัญ
                หลักการพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานสำคัญ 3 ด้าน คือ พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา พื้นฐานด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยแต่ละด้านมีความสำคัญ  ดังนี้
ด้านที่ 1  พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา
                ปรัชญามีส่วนสำคัญในการสร้าง  หรือพัฒนาหลักสูตร  การพัฒนาหลักสูตรนั้นจะใช้ปรัชญาช่วยในการกำหนดจุดประสงค์ ในการจัดหลักสูตรและการจัดการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเชื่อหรือยึดถือปรัชญาใด จะขอยกตัวอย่างการจัดหลักสูตรตามแนวของปรัชญาการศึกษาที่สำคัญดังนี้
ด้านความรู้ (K)
ปรัชญาสารัตถนิยม  (Essentialism)  มีความเชื่อว่า การศึกษาคือเครื่องมือในการสืบทอดมรดกทางสังคม ซึ่งก็คือวัฒนธรรมและอุดมการณ์ทั้งหลายอันเป็นแก่นสาระสำคัญของ สังคมให้ดำรงอยู่ต่อ ๆ ไป ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาจึงควรประกอบไปด้วย ความรู้ ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และวัฒนธรรม อันเป็นแก่นสำคัญซึ่งสังคมนั้นเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม สมควรที่จะรักษาและสืบทอดให้อนุชนรุ่นต่อ ๆ ไป การจัดการเรียนการสอนจะเน้นบทบาทของครูในการถ่ายทอดความรู้และสาระต่าง ๆ รวมทั้งคุณธรรมและค่านิยมที่สังคมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามแก่ผู้เรียน
ด้านผู้เรียน (L)
ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) มี แนวคิดว่า การศึกษาคือชีวิต หมายความว่า การที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะต้องอาศัยการเข้าใจความหมายของ ประสบการณ์นิยม ฉะนั้นผู้เรียนจึงควรจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของผู้เรียน และสิ่งที่จัดให้ผู้เรียนเรียนควรจะเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถ เข้าใจปัญหาชีวิตและสังคมในปัจจุบัน และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน  ปรัชญานี้ต้องการให้ผู้เรียนเรียนจากประสบการณ์ในชีวิตจริง  หลักสูตรจึงครอบคลุมชีวิตประจำวันทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมในประสบการณ์การเรียนรู้ทุกรูปแบบ  หลักสูตรจะเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคมตลอดจนชีวิตประจำวัน เนื้อหา ได้แก่ สังคมศึกษา วิชาทางภาษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่ความสำคัญของการศึกษา พิจารณาในแง่ของวิธีการที่นำมาใช้ คือ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในบทเรียน และนำเอากระบวนการแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ด้านสังคม (S)
                ปรัชญาปฏิรูปนิยม(Reconstructionism) ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า ผู้เรียนมิได้เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  วิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคมเป็นส่วนใหญ่จะเน้นวิชาสังคมศึกษาเช่น กระบวนการทางสังคมการดำรงชีวิตในสังคม สภาพเศรษฐกิจและการเมือง วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ศิลปะในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีความเข้าใจในกลไกของสังคม และสามารถหาแนวทางในการสร้างสังคมที่ดีขึ้นมาใหม่
ด้านที่ 2  พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
                ข้อมูลพื้นฐานด้านจิตวิทยาเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรซึ่งต้องศึกษาพื้นฐานด้านจิตวิทยาต่างๆเช่น จิตวิทยาพัฒนาการของกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน รวมทั้งศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ทั้ง 3 กลุ่ม คือกลุ่มพฤติกรรมนิยม  กลุ่มปัญญานิยม  และกลุ่มมนุษยนิยมเพื่อวิเคราะห์ประเด็นหลักๆนำมาจัดให้เหมาะกับการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
                แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม มีความเชื่อว่าการเรียนรู้และพฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ถ้าอยู่สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม  ลักษณะรูปแบบหลักสูตรจะเน้นเนื้อหาวิชาเป็นหลัก  โดยผู้สอนจะเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนการสอน โดยจะพัฒนาผู้เรียนไปตามที่ได้กำหนดไว้
                แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม จะเน้นการอธิบายพัฒนาการของมนุษย์ที่เน้นความสามารถทางสติปัญญา โดยเชื่อว่ามนุษย์เกิดการเรียนรู้ และแสดงพฤติกรรมได้โดยได้รับ
กระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา ลักษณะการจักหลักสูตรจะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนจะจัดตามลำดับของพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละวัยโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบค้นพบหรือการแก้ปัญหา  เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีการคิดแบบวิทยาศาสตร์
                แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยวิทยา เชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพพร้อมที่จะพัฒนา  มีศักดิ์ศรีมีสิทธิที่จะเลือกและกระทำตามความมุ่งหวังของตน  ลักษณะการจัดหลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม โดยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ให้ผู้เรียนได้สำรวจค้นพบตัวเองโดยผู้เรียนไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ  การประเมินผลจะให้ผู้เรียนประเมินผลด้วยตนเอง  โดยผู้สอนเปิดโอกาสและกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักรับผิดชอบและเตรียมตัวสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต
ด้านที่ 3  พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคมและวัฒนธรรม

                ในการพัฒนาหลักสูตรข้อมูลพื้นฐานจากสังคมและวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดเนื่องจากโรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคม  สมาชิกของสังคมเป็นผู้สร้างและพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้สนองความต้องการของสังคมนั้นๆ ดังนั้น  หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นจึงจำเป็นต้องศึกษาสังคม วัฒนธรรม เพื่อการถ่ายทอดวัฒนธรรมไปสู่รุ่นต่อๆไปได้แก่ ภาษา ศีลธรรม ศาสนา เจตคติและระบบของความรู้ หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางสังคม แนวทางแก้ไข มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจสังคมเข้าใจตนเองสามารถดำเนินบทบาทของตนให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีความสุข  พื่อให้สนองความต้องการของสังคมนั้นๆ     

ข้อสอบกลางภาค ปีการศึกษา 2556 ข้อที่ 1

นางสาวหฤทัย  สายสิญจน์  รหัส06540092 วิชาเอกสังคมศึกษา
 
ข้อสอบกลางภาควิชา  462  201พัฒนาหลักสูตร
1. เมื่อมีความจำเป็นในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา นักศึกษาจงนำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรที่มีรายละเอียดข้อมูล ประกอบแผนภูมิ ตามประเด็นต่างๆ โดยอธิบายในลักษณะกระบวนการปฏิบัติงานกลุ่มในการเรียนรู้วิชานี้ ดังต่อไปนี้
                1) คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร โดยระบุบทบาทหน้าที่ และขอบข่ายการปฏิบัติงาน
นางสาวปทุมวดี พารา รหัส 06540080
- รับผิดชอบในการประเมินหลักสูตร
- หาเนื้อหาที่ใช้ในการสอน
- เป็นผู้สอนตอนนำหลักสูตรไปใช้
นางสาวพรพรหม ธรรมธร รหัส 06540082
- รับผิดชอบในการประเมินหลักสูตร
- ออกแบบแบบฝึกหัดที่ใช้ในการทดลองสอน
- เป็นผู้ชี้แจงการทำแบบฝึกหัดที่ใช้ในการทดลองสอน
นายยุทธพันธ์ พงษ์ไพร รหัส 06540086
- รับผิดชอบในการจัดการระบบหลักสูตร
- รวบรวมส่วนต่างๆของหลักสูตร
- เป็นผู้สอนตอนนำหลักสูตรไปใช้
นางสาวศุภณัฐ หวังศิริจิตร รหัส 06540088
- รับผิดชอบในการวางแผนหลักสูตร (วิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน สังคม)
- เป็น staff ดูแลความเรียบร้อย ตอนทำหลักสูตรไปใช้
นางสาวหฤทัย สายสิญจน์ รหัส 06540092
- รับผิดชอบในการวางแผนหลักสูตร (ติดต่อโรงเรียนที่จะนำหลักสูตรไปใช้)
- เป็น staff ดูแลความเรียบร้อย ตอนทำหลักสูตรไปใช้
นายอาคม แซ่ลิ้ม รหัส 06540095
- รับผิดชอบในการออกแบบหลักสูตร
- ทำ power point ประกอบการสอน
- เป็นผู้สอนตอนนำหลักสูตรไปใช้

               
2) แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development Model)
กลุ่มข้าพเจ้าเลือกใช้แบบจำลอง SU  Model เพราะจุดเด่นของ SU Model คือมีองค์ประกอบครอบคลุมทุกๆด้าน ทั้งด้านปรัชญา จิตวิทยา สังคม และแบบจำลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
พื้นฐานทางด้านปรัชญา
กลุ่มข้าพเจ้าใช้ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (existentailism) เป็นปรัชญาที่ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบที่ทำให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ยิ่ง เพราะเชื่อว่ามนุษย์มิใช่วัตถุแต่มีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึก มีความต้องการ องค์ประกอบที่สำคัญคือ ความมีเสรีภาพ ความรู้สึกรับผิดชอบและการเลือกตัดสินใจ
พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
กลุ่มข้าพเจ้าใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม โดยให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มนุษย์มีอิสระที่จะเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ดีจากการสนับสนุน หรือส่งเสริมของครูผู้สอน
พื้นฐานทางด้านสังคม
สถานศึกษา : โรงเรียนศรีวิชัยวิทยาเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 โรงเรียนมีวิสัยทัศน์  "โรงเรียนศรีวิชัยวิทยาเป็นโรงเรียนชั้นนำ ด้านคุณธรรม นำความรู้ สู่ความเป็นสากล" แสดงให้เห็นว่าทางโรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผู้เรียนในด้านความรู้ คุณธรรม และความเป็นสากล เพื่อที่จะทำให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนชั้นนำ
ผู้เรียน : ภูมิหลังทางครอบครัวของผู้เรียนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และมีอีกส่วนที่ประกอบอาชีพอื่นๆซึ่งเป็นส่วนน้อย ในขณะที่ตัวผู้เรียนเป็นพลเมืองของสังคมแบบอุตสาหกรรมทำให้เกิดความแตกต่าง ระหว่างตัวผู้เรียนและครอบครัว ดังนั้นจึงต้องจัดทำหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับสภาพภูมิหลังโดยการพัฒนา ให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมอุตสาหกรรม

                3) การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร
ในการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร กลุ่มของข้าพเจ้าได้ประเมินเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. การประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้
เมื่อร่างหลักสูตรเสร็จ กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำร่างของหลักสูตร นำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นพี่ๆที่กำลังเรียนปริญญาเอก พี่ๆได้ให้คำแนะนำในเรื่องของหลักสูตรดังนี้
- โดยภาพรวมของวิสัยทัศน์ และพันธกิจ พี่ๆบอกว่าใช้ได้ แต่อาจปรับแก้เพื่อให้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้นดังนี้ ปรับพันธกิจ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ให้มากยิ่งขึ้น โดยใช้คำที่ระบุอย่างชัดเจน แทน การใช้คำแบบกว้างๆ
- ในเรื่องของแผนการสอนพี่ๆ ได้แนะนำว่าเรื่องสังคมไทยเป็นเรื่องที่ค่อนข้างกว้าง อาจทำ ให้สอนไม่ทัน และไม่น่าสนใจ พี่ๆแนะนำว่าควรเปลี่ยนเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวนักเรียน จะทำให้ นักเรียนมีความสนใจมากกว่า
เมื่อได้รับคำแนะนำจากพี่ ป.เอก แล้ว กลุ่มของข้าพเจ้าได้มาประชุมกันในเรื่องของการปรับพันธกิจ และเลือกเรื่องที่ใช้ในการนำหลักสูตรไปทดลองใหม่ โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้เปลี่ยนจากเรื่องสังคมไทยเป็น บรรทัดฐานทางสังคม เนื่องจากบรรทัดฐานทางสังคม อันประกอบไปด้วย 1.วิถีประชา 2.จารีต 3.กฎหมาย เป็นสิ่งที่ใช้ในการควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม และการปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานทางสังคมนี้จะเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การเป็น พลเมืองที่ดีต่อไป
2. การประเมินหลักสูตรระหว่างดำเนินการไปใช้หลักสูตร
เมื่อได้นำหลักสูตรไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีวิชัยวิทยาแล้ว ได้นำผลสัมฤทธิ์ ที่ได้จากการสังเกต  การทำกิจกรรมกลุ่ม และการทำแบบฝึกหัด มาวิเคราะห์โดยให้หลักการ solo taxonomy เป็นเกณฑ์ พบว่าเมื่อนักเรียนกลุ่มทดลองได้เรียนแล้ว เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational Level) เพราะนักเรียนสามารถเปรียบเทียบ ระบุความแตกต่างของประเภทของบรรทัดฐานทางสังคมทั้ง 3 ประเภทได้ และเมื่อให้นักเรียนทำกิจกรรมกลุ่มนักเรียนได้นำความรู้ที่ได้รับนำไปใช้ อธิบายเหตุผลในวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมว่ามีความสัมพันธ์กับ บรรทัดฐานประเภทใดได้เป็นอย่างดี
3. การประเมินหลักสูตรหลังนำหลักสูตรไปใช้
เมื่อนำหลักสูตรไปใช้แล้ว พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน เมื่อเทียบเคียงกับเกณฑ์ solo taxonomy อยู่ในระดับ ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational Level) ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ดี ดังนั้นผลการประเมินในเชิงคุณภาพของหลักสูตรถือว่าดีเช่นกัน แต่ทั้งนี้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาจะใช้ได้ผลดี กับโรงเรียนที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี เพราะในส่วนของสื่อการเรียนรู้ จะต้องมีการฉาย power point ประกอบการสอน ดังนั้นหากโรงเรียนที่ไม่มีความพร้อม อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ผู้สอนที่นำหลักสูตรไปใช้ ควรหาทางออกโดยการปรับเรื่องของสื่อการเรียนรู้ ให้เข้ากับความพร้อมของโรงเรียนนั้นๆ

               
4) การศึกษาการใช้หลักสูตรภาคสนาม
ในการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ที่โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา ได้รับความอนุเคราะห์จากทางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการนำหลักสูตรไปทดลองใช้
เมื่อนำหลักสูตรไปใช้จริงในวันพฤหัสบดีที่23 สิงหาคม พ.ศ.2556 กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 ผลผ่านไปด้วยดี  นักเรียนให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างดี โดยขั้นต้นนักเรียนให้ความสนใจกับกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน แต่พอเริ่มเข้าเนื้อหานักเรียนบางคนเข้าใจว่าเนื้อหาจะยาก และไม่คุ้นชินกับครูผู้สอน เลยไม่ค่อยสนใจ แต่เมื่อสอนโดยใช้ power point ประกอบการอธิบายยกตัวอย่าง นักเรียนก็กลับมาสนใจ และเมื่อให้ทำกิจกรรมกลุ่มผู้เรียนก็ให้ความร่วมมือในการทำงาน  ผลคือนักเรียนสามารถนำความรู้ที่สอนไปใช้ในการทำกิจกรรมกลุ่ม และทำแบบฝึกหัดได้ แสดงให้เห็นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในการเปรียบเทียบความแตกต่าง การคิดวิเคราะห์ และการแสดงความสัมพันธ์ของนักเรียน
อุปสรรค
เนื่องจากนักเรียนไม่มีห้องเรียนประจำ ทำให้นักเรียนเข้าเรียนช้ากว่าเวลาเรียน ส่งผลให้การเรียนการสอนต้องยืดเยื้อเกินเวลาเนื่องจากเวลาเรียนมีน้อยกว่าที่เตรียมการไว้
ข้อเสนอแนะ
-  ผู้เรียนจะสนใจเนื้อหาที่ใกล้ตัวมากกว่า  ดังนั้นการยกตัวอย่างใกล้ตัว จะทำให้นักเรียนเข้าใจ และมีความสนใจมากขึ้น
- ในการนำหลักสูตรไปใช้ จะใช้ได้ผลอย่างดีกับห้องเรียนที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี เพราะมีการใช้สื่อ power pointประกอบการสอน

-  ควรเตรียมการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นเช่น ในกรณีเวลาเรียนมีน้อย 

กิจกรรมท้ายบท กิจกรรมที่ 8

กิจกรรมที่ 9:1. ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร ก่อนนำหลักสูตรไปใช้
                ขั้นตอนการประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้ 4 ขั้นตอน คือ
                1) กำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินหลักสูตร
                    (1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาหลักสูตร
                   (2) เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม
                   (3) เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา และการใช้หลักสูตร
                   (4) เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างความร่วมมือของครู เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันอย่างยั่งยืน ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
                   (5) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริม และเป็นอุปสรรค ต่อประสิทธิภาพในการใช้หลักสูตร
                   (6) เพื่อศึกษาวิธีการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
                2) วางแผนการดำเนินการประเมิน
                กระบวนการ
                P (Plan) วางแผน
                - วางแผนร่วมกันกับครู และผู้บริหาร
                - วางแผนปฏิบัติการทำวิจัยร่วมกับครูและผู้บริหาร
                A (Action) ปฏิบัติตามแผน
                - สังเกต การสอน
                - สัมภาษณ์
                - สังเกต สภาพทั่วไปโดยรวมของโรงเรียน (walking the hall)
                - ศึกษาเอกสาร
                O (Observe) สังเกตผลที่เกิดขึ้น
                R (Reflect) สะท้อนผลและแก้ไข
                - สะท้อนคิด (reflect)
                - เป็นพี่เลี้ยง (mentor)
                - สอนแนะ (coach)
                3) ทดลองใช้หลักสูตรฉบับร่าง
                นำหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับร่างไปทดลองกับโรงเรียนต้นแบบ การใช้หลักสูตร จำนวน 555 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทละ 185 โรงเรียน ได้มาจากการคัดเลือกของเขตพื้นที่การศึกษา 185 เขตๆละ 3 โรงเรียน นอกจากนี้ ยังใช้ในโรงเรียนที่มีความพร้อม และแสดงเจตจำนง ที่จะใช้หลักสูตรแกนกลางฯ คู่ขนานกับโรงเรียนต้นแบบ อีกจำนวนประมาณ 1,000 โรงเรียน ปีการศึกษา 2552 ใช้หลักสูตรแกนกลางในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 และทยอยใช้ในระดับที่สูงขึ้น ในปีการศึกษาถัดไปจนครบทุกชั้นในปีการศึกษา 2554 สำหรับ โรงเรียนทั่วไป เริ่มใช้ในปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป
                4) การประเมินผลการทดลองใช้ และนำผลมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงหลักสูตร ก่อนนำไปใช้จริง
                ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
                (1) รูปแบบกระบวนการ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในภาพรวม และแต่ละองค์ประกอบของหลักสูตรอย่างไร
                (2) รูปแบบกระบวนการ จัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสม สอดคล้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นอย่างไร
                (3) รูปแบบการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา และการใช้หลักสูตร สถานศึกษาเป็นอย่างไร
                (4) รูปแบบการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ ในการพัฒนางานของครู และรูปแบบการสร้างความร่วมมือ ในการพัฒนางานของครู เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันอย่างยั่งยืนในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเป็นอย่างไร
                (5) ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
                                ระดับ     ห้องเรียน เช่น พฤติกรรมการเรียนการสอน
                                                โรงเรียน เช่น การบริหารจัดการ
                                                สพท. เช่น วิธีการ/กระบวนการส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียน
                                                สพฐ. เช่น วิธีการ/กระบวนการส่งเสริมสนับสนุน สพท. และโรงเรียน
                (6) ปัญหาอุปสรรค ของครูและโรงเรียน ในการนำหลักสูตรแกนกลางฯไปใช้ มีอะไรบ้าง
                (7) ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผลการเรียนรู้เป็นอย่างไร
                ระดับสถานศึกษา
                 (1) รูปแบบกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ในภาพรวม และแต่ละองค์ประกอบของหลักสูตรเป็นอย่างไร
                (2) รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสม สอดคล้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นอย่างไร
                (3) รูปแบบการส่งเสริมสนับสนุน การพัฒนาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เป็นอย่างไร
                (4) รูปแบบการส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดความร่วมมือ ในการพัฒนางานของครู และรูปแบบการสร้างความร่วมมือในการพัฒนางานของครู เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกัน อย่างยั่งยืน ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเป็นอย่างไร
                (5) ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
                                ระดับ     ห้องเรียน เช่น พฤติกรรมการเรียนการสอน
                                                โรงเรียน เช่น การบริหารจัดการ
                                                สพท. เช่น วิธีการ/กระบวนการส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียน
                (6) ปัญหาอุปสรรคของครู และโรงเรียนในการนำหลักสูตรแกนกลางฯ ไปใช้มีอะไรบ้าง
                (7) ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผลการเรียนรู้ เป็นอย่างไร
                ระดับห้องเรียน
                (1) รูปแบบกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ระดับชั้นเป็นอย่างไร
                (2) รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอน ของรายวิชาที่สอน ที่สอดคล้องเหมาะสม ตามหลักสูตรแกนกลางฯ เป็นอย่างไร
                (3) รูปแบบการสร้างความร่วมมือ ในการพัฒนางานของครู เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันอย่างยั่งยืน ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเป็นอย่างไร
                (4) ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการพัฒนาหลักสูตรระดับชั้นเรียน
                                ระดับ     ห้องเรียน เช่น พฤติกรรมการเรียนการสอน
                                                โรงเรียน เช่น การบริหารจัดการ
                                                สพท. เช่น วิธีการ/กระบวนการส่งเสริมสนับสนุนครู
                (5) ปัญหาอุปสรรคของครู ในการนำหลักสูตรสถานศึกษา ไปใช้มีอะไรบ้าง
                (6) ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผลการเรียนรู้เป็นอย่างไร

                2. ฝึกปฏิบัติการประเมินหลักสูตร และเขียนแผนการประเมินหลักสูตร

                การประเมินหลักสูตร โดย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับ ดังนี้
                1) สัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา และ/หรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด การดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนให้ ครูสามารถจัดการเรียนการสอน รวมถึงปัจจัยที่ส่งผล และเป็นอุปสรรคต่อการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้แบบสัมภาษณ์
                2) สังเกตการณ์จัดการเรียนการสอน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามแนวทางของหลักสูตรแกนกลางฯ ขณะเดียวกันต้องสังเกตพฤติกรรม การเรียนรู้ และการตอบสนองของผู้เรียน ที่มีต่อการเรียนการสอน โดยใช้แบบสังเกต
                3) สัมภาษณ์ผู้เรียน เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการหลังจากเสร็จสิ้น การสังเกตการณ์สอนของครู โดยดำเนินการให้ครู หรือศึกษานิเทศก์ เป็นผู้คัดเลือกนักเรียน ที่น่าสนใจ โดยให้เป็นเด็กกลุ่มเก่ง ปานกลางและอ่อน อย่างน้อยกลุ่มละ 2 คน รวม 6 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเห็น ความพึงพอใจ ความต้องการของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู และการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้แบบสัมภาษณ์
                4) สัมภาษณ์ครู เป็นขั้นตอนหลังจากที่เสร็จสิ้น จากการสัมภาษณ์ผู้เรียนแล้ว ให้ศึกษานิเทศก์ สัมภาษณ์ครู โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบผลการสังเกต และให้ครูสะท้อนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมา โดยใช้แบบการสัมภาษณ์
                5) สัมภาษณ์ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคาดหวัง และความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรแกนกลางฯ โดยใช้แบบสัมภาษณ์
                6) สังเกตสภาพทั่วไปโดยรวมของโรงเรียน (walking the hall) เป็นการรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบรรยากาศทางวิชาการ หรือการส่งเสริมสนับสนุน การใช้หลักสูตรแกนกลางฯ เช่น การจัดการเรียนการสอนในห้องอื่นๆ พฤติกรรมของครูในห้องพักครู ประเด็นการพูดคุย และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่สนับสนุนการสอนภายในโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการสังเกตสภาพทั่วไป อาจดำเนินการก่อนการสังเกตการณ์สอน หรือหลังการสังเกตการสอนก็ได้
                7) ศึกษาเอกสาร เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียด มีหลักฐานที่ชัดเจน เกี่ยวกับการพัฒนา และการใช้หลักสูตรแกนกลางฯมากขึ้น เช่น เอกสารข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน เอกสารหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และแผนการเรียนรู้ เป็นต้น
                เครื่องมือ
                ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
                1) แบบสังเกต
                2) แบบการสังเกตการสอน
                3) แบบการบันทึกการสังเกตสภาพทั่วไปโดยรวมของโรงเรียน (walking the hall)
                4) แบบสัมภาษณ์
                                (1) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน
                                (2) แบบสัมภาษณ์นักเรียน
                                (3) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา
                              (4) แบบสัมภาษณ์กรรมการสถานศึกษา
                              (5) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง
                5) แบบบันทึกเอกสาร ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน (ให้ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลออกแบบบันทึกด้วยตนเอง)

                การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเชิงคุณภาพ
                การตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การเชื่อมโยงแบบ 3 เส้า (triangulation) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง และเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายวิธี เช่น การสังเกตการณ์สอน การสังเกตสภาพทั่วไปของโรงเรียน การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ การศึกษาเอกสาร และหลักฐานร่องรอย
                การวิเคราะห์ข้อมูล
                การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการ ดังนี้
                1) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์เอกสาร โดยจะวิเคราะห์เฉพาะเนื้อหา ที่ปรากฏในเอกสารเท่านั้น (Manifest Content) ไม่วิเคราะห์เนื้อหา ที่มีความนัยแฝงอยู่ จากนั้นจะสรุปใจความในเอกสาร ตามประเด็นที่ศึกษา
                2) การวิเคราะห์อุปนัย (Analytic Induction) เป็นวิธีการที่ใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้จากการสังเกต และการสัมภาษณ์ โดยการแยกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ตีความหมาย เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่างๆที่รวบรวมได้
                3) การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเบื้องต้น คือ การแจกแจงความถี่ และการหาค่าร้อยละ สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ที่ได้จากแบบสอบถาม

                3. ฝึกปฏิบัติการเขียนระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ ตาม SOLO Taxonomy


                                 เชิงปริมาณ
                                   เชิงคุณภาพ
                 SOLO 1
      ระดับโครงสร้างเดี่ยว
              SOLO 2
ระดับโครงสร้างหลากหลาย
                 SOLO 3
ระดับความสัมพันธ์ของ โครงสร้าง
                SOLO 4
ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย
1. บอกลักษณะภูมิอากาศของสองพี่น้อง(บอก ระบุ)
2. ระบุที่ตั้งของอำเภอสองพี่น้องได้ (ระบุ)
1. รู้และเข้าใจ เกี่ยวกับประเพณีความเชื่อที่สำคัญของอำเภอสองพี่น้อง (อธิบาย อธิบายได้ว่า)
2. บอกและอธิบาย ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอสองพี่น้องที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชากรในอำเภอสองพี่น้อง (บอก อธิบาย)
1. สามารถรวบรวมข้อมูลของภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาชีพของคนในอำเภอสองพี่น้องในอดีตและปัจจุบัน (วางแผน)
2. ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่นและอาชีพของคนในอำเภอสองพี่น้องในอดีตและปัจจุบัน(วิเคราะห์ เปรียบเทียบ)
1. อภิปรายและสรุป ถึงแนวทางในการอนุรักษ์ความเชื่อ และวัฒนธรรมประเพณีของอำเภอสองพี่น้อง (อภิปราย สรุป)
2. คาดคะเน ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอสองพี่น้องในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล (คาดคะเน คิดอย่างมีเหตุผล)

กิจกรรมท้ายบท กิจกรรมที่ 8

กิจกรรมที่ 8 : ฝึกปฏิบัติการออกแบบการสอน และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ตามประเด็นต่อไปนี้

                1. ศึกษาแนวคิด การจัดการเรียนการสอน หรือจัดการเรียนรู้
                คาลวิล สมิธ และคณะ (Dr Calvin Smith, Dr Duncan Nulty, Ms Mandy Lupton and Dr Heather Alexander.) ได้กำหนดแนวทางในการเรียนรู้และการสอน ดังนี้
                1. สร้างสรรค์ประสบการณ์ทางการเรียน ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีแรงจูงใจ และมีแรงกระตุ้นปัญญา
                 2. ส่งเสริม สนับสนุนให้รู้จักการสืบเสาะค้นหา และตั้งคำถาม อย่างมีวิจารณญาณ และส่งเสริมการสรรค์สร้าง อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ โดยมีพื้นฐานอยู่บนผลการวิจัยที่เป็นปัจจุบัน
                3. เน้นความสำคัญ ความเกี่ยวโยง และการบูรณาการ ทฤษฎีและองค์ความรู้ ด้วยการปฏิบัติการอย่างเป็นมืออาชีพ เพื่อพัฒนาให้กับการแก้ปัญหา ที่นำไปใช้ได้จริง
                4. ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ ที่พัฒนาความสามารถ ระหว่างวัฒนธรรม ที่ผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านสังคม และการตอบสนองทางจริยธรรมของสังคมโลก
                5. คุณค่าและความทรงจำ ของแต่ละบุคคล และวัฒนธรรมที่หลากหลาย นำมาเป็นมาตรการในบริบท ของการสนับสนุน และเกี่ยวข้องกับผู้เรียน
                6. การเพิ่มการมีส่วนร่วม ในการเรียนรู้ของผู้เรียน มีผลต่อประสิทธิผลของหลักสูตร การสอน และ   กลยุทธ์ของการประเมิน
                7. การปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาวิชาชีพ และการสะท้อนความคิด ให้สารสนเทศ ด้วยการประยุกต์แนวคิดของการวัดประเมินผล
                ทิศนา แขมมณี (2545 : 472) ได้ให้ความเห็นว่า ศาสตร์การสอน (Science of Teaching) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับ การเรียนรู้และการสอน ที่สังคมโลกได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการช่วยให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย/จุดประสงค์ ของการสอนที่กำหนด ความรู้ดังกล่าวได้มาจากการคิด วิเคราะห์ของนักปราชญ์ และนักคิดทั้งหลาย หรือได้มาจากการศึกษาค้นคว้า พิสูจน์ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักจิตวิทยา และนักการศึกษาต่างๆ ความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย ปรัชญาการศึกษา บริบททางการสอน ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ระบบ รูปแบบ วิธีการ เทคนิค และจิตวิทยาทางการเรียนรู้และการสอน การวางแผนและออกแบบ การจัดการเรียนการสอน การดำเนินการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สื่อเทคโนโลยีทางการสอน นวัตกรรมและการวิจัยการเรียนการสอน เป็นต้น

                ศิลปะการสอน (Art of Teaching) หมายถึง ความรู้ความสามารถในการนำจิตวิทยา วิธีการและเทคนิคต่างๆไปใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีความน่าสนใจ สนุกมีชีวิตชีวา และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีความสุข
                คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (2541 : 181-182) กล่าวว่า การสอนเป็นศิลปะและศาสตร์อย่างหนึ่ง เนื่องจากงานของผู้สอนนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ถ่ายทอดข้อมูล หรือแม้กระทั่งความรู้เท่านั้น แต่ผู้สอนจะต้องนำเสนอความรู้ ในลักษณะของการเสนอปัญหา ในบริบทใดบริบทหนึ่ง และเสนอปัญหาต่างๆอย่างถูกต้อง เพื่อผู้เรียนจะได้สามารถนำวิธีแก้ปัญหานั้น ไปใช้กับเรื่องอื่นๆได้ต่อไป
                คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (2541 : 107-122) สรุปไว้ว่า การศึกษาตลอดชีวิต อาศัยหลักสำคัญ 4 ประการ คือ
                1. การเรียนเพื่อรู้ คือการฝึกฝน ให้รู้วิธีที่จะเข้าใจ การเรียนรู้วิธีแสวงหาความรู้
                2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง เพื่อจะได้สามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆที่แวดล้อมเราอยู่
                3. การเรียนรู้เพื่อจะอยู่ร่วมกัน เพื่อสามารถมีส่วนร่วม และร่วมมือกับผู้อื่น ในกิจการทั้งปวงของมวลมนุษย์
                4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต เพื่อที่จะพัฒนามนุษย์ ให้เป็นบุคคลที่เพียบพร้อม เป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิต
                โดนัล คลาก (Donald Clark, 2004 : 4) กล่าวว่า การที่จะทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ มีองค์ประกอบอยู่ 3 ประการ คือ
                1. ความรู้ (Knowledge) ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ ในเนื้อหาสาระในวิชาที่สอน
                2. สิ่งแวดล้อม (Environment) ผู้สอนจำเป็นต้องมีเครื่องมือ ที่ช่วยส่งผ่านเนื้อหาสาระ ที่จะช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจบทบาทได้ดีขึ้น
                3. ทักษะที่เกี่ยวข้อง (Involvement Skills) ผู้สอนจำเป็นต้องรู้จักผู้เรียน อย่างน้อยจะต้องรู้จักชื่อ รู้จักว่าผู้เรียนมาจากไหน และควรให้ผู้เรียนแนะนำตนเองก่อนเรียน ผู้สอนควรถามตนเองว่ารู้จักผู้เรียนดีพอแล้วหรือไม่
                ดิค และแคเรย์ (Dick & Carey, 2004 : 4) เสนอแนวคิดไว้ว่า กลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
                1. กิจกรรมก่อนการเรียนการสอน
                2. การนำเสนอสารสนเทศในการเรียนรู้
                3. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
                4. การทดสอบ
                5. การติดตามผล
                มาซาโน (Robert J. Marzano, ดารณี ภุมวรรณ, ผู้แปล, 2547 : 170) ได้เสนอรูปแบบการสอนเป็นมิติการเรียนรู้ (dimension of learning) ที่ช่วยให้ครูผู้สอน มีโครงสร้างเกี่ยวกับ วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้มิติของการคิดมิติต่างๆ 5 มิติ
                มิติที่ 1 เจตคติและการรับรู้ (Attitude and Perception) ภาระงานการออกแบบ หลักสูตรการเรียนรู้ ต้องมีเป้าหมาย สร้างเจตคติที่ดี และการรับรู้เชิงบวกต่อการเรียนรู้ เพราะทั้งเจตคติและการรับรู้ มีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้
                มิติที่ 2 การแสวงหาความรู้ และการบูรณาการความรู้ (Acquire and Integrate Knowledge) ภาระงานออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ ต้องมุ่งช่วยให้ผู้เรียน สามารถโยงความรู้ใหม่ เข้ากับความรู้เดิม จัดระบบข้อมูล ได้อย่างมีเป้าหมาย และสร้างให้เกิดความจำในระยะยาว (long term memory) ในการเรียนรู้ทักษะกระบวนการใหม่ ผู้เรียนต้องเรียนรู้รูปแบบ/ลำดับขั้นก่อน จากนั้นฝึกทักษะตามขั้นตอน หรือกระบวนการเพื่อทำให้เป็น และท้ายที่สุด ฝึกฝนทักษะกระบวนการเหล่านั้นเพื่อให้ทำได้อย่างคล่องแคล่ว
                มิติที่ 3 การขยายและปรับแต่งความรู้ (extend and refine knowledge) การเรียนรู้เพื่อให้รู้ลึกรู้จริง ในสิ่งที่เรียนต้องไม่หยุด อยู่เพียงมิติที่ 2 แต่จ้องให้ผู้เรียน ได้พัฒนาความเข้าใจอย่างลึกซึ้งด้วยกระบวนการแตกหน่อ ต่อยอด และปรับแต่งความรู้ให้รู้จริงยิ่งขึ้น ภาระงานที่ออกแบบ จึงต้องมีจุดมุ่งหมาย ในการช่วยให้ผู้เรียน ได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น และเชื่อมโยงกับระดับความคิดที่สูงขึ้น โดยได้ทำกิจกรรมอย่างจริงจัง ในการใช้ความคิด ใช้ความเป็นเหตุเป็นผ
                มิติที่ 4 การใช้ความรู้อย่างมีความหมาย (use knowledge meaningfully) การเรียนรู้ที่บังเกิดผลสูงสุด จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ในการปฏิบัติภาระงาน ที่มีความหมายต่อตน มิใช่เรียนโดยไร้ความหมาย การเรียนรู้ที่จะทำให้มีความหมาย จะต้องมีการวางแผน ออกแบบ ภาระงานให้ผู้เรียน ได้ผ่านกระบวนการคิด ที่มั่นใจว่าผู้เรียน ได้ใช้ความรู้นั้นอย่างเกิดผล
                มิติที่ 5 จิตนักคิด (productive habits of mind) นักคิดจะมีนิสัย รักการสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณ และรู้จักระบบควบคุมพฤติกรรมของตน ภาระงานการเรียนรู้ ต้องร่วมสร้างผู้เรียน ให้มีนิสัยนักคิดเหล่านี้
                มิติการเรียนรู้ทั้ง 5 นี้ มิได้เกิดเป็นลำดับขั้น แต่เป็นการสนับสนุนกันและกัน กล่าวคือ จะเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้ ผู้เรียนต้องคงความมีเจตคติที่ดีตลอด เมื่อผู้เรียนมีเจตคติที่ดี (มิติที่ 1) ย่อมอยากเรียน การเรียนรู้ก็จะง่ายขึ้น และถ้ามีจิตนักคิด (มิติที่ 5) ก็จะเอื้อต่อการเรียนรู้ ฉะนั้นมิติที่ 1 และมิติที่ 5 จึงเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดการคิดที่ต้องการในมิติที่ 2, 3 และ 4 นอกจากนี้การคิดในมิติที่ 2,3 และ 4 เป็นทักษะที่มีความสัมพันธ์กัน ไม่ได้เป็นทักษะการคิดที่แยกส่วน หรือเป็นลำดับต่อเนื่องกัน แต่สามารถเกิดในช่วงการเรียนรู้ ในเวลาเดียวกันได้
                มาซาโน (Robert J. Marzano, ดารณี ภุมวรรณ, ผู้แปล. 2547 : 170) เสนอกลวิธีการสอน ที่มีผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนเป็นอย่างมาก ดังนี้
                1. การระบุความเหมือนและความแตกต่าง
                2. การสรุปความ และการจดบันทึกย่อ
                3. การเสริมแรงความเพียรพยายาม และการยอมรับ
                4. การบ้านและการฝึกปฏิบัติ
                5. การสื่อความหมายโดยไม่ใช้ภาษา
                6. การเรียนรู้แบบร่วมมือ
                7. การกำหนดวัตถุประสงค์ และการให้ผลย้อนกลับ
                8. การตั้งสมมติฐาน และการทดสอบสมมติฐาน
                9. คำถาม ตัวแนะและโครงสร้างความคิด ก่อนการเรียนการสอน

                2. ศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนการสอนโดยตรง และการสอนตามความสนใจ
                                        เปรียบเทียบการสอนโดยตรง และการสอนตามความสนใจ

                          การสอนโดยตรง
                         การสอนตามความสนใจ
     การเรียนการสอนโดยตรง (Direct Instruction Methods)
     ผู้สอนเป็นผู้ควบคุมจุดประสงค์ ของการเรียนการสอน การเลือกสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะกับความสามารถของผู้เรียน และกำหนดอัตราการพัฒนา ในการเรียนการสอน ในแต่ละตอนได้
- ผู้เรียนเรียนรู้เป็นลำดับ จากชุดของสื่อการเรียนรู้ หรือภาระงานภายใต้การนิเทศงาน ของครูผู้สอนโดยตรง
การสอนโดยตรงควรนำมาใช้ เมื่อมีความต้องการ ดังนี้
     1. การเรียนรู้ทักษะ และสารสนเทศโดยเฉพาะ
     2. การเรียนการสอนต้องการให้การเรียนรู้ทักษะ
     3. คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ
     4. ต้องมีแรงจูงใจภายนอก เช่น ในรูปแบบของเรื่องราว  
         การสาธิต และเหตุการณ์ที่ขัดแย้ง
ลักษณะของการสอนโดยตรง:
     1. ผลการเรียนรู้คาดหวังชัดเจน
     2. การสอนกลุ่มใหญ่ที่ครูเป็นผู้สอน
     3. การกำกับติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
     4. มีการตั้งคำถามความคิดในระดับต่ำ
การสอนโดยตรงโดยทั่วไปมี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1: การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
     ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจมากเพียงพอ ที่จะเกิดความตั้งใจ ในภาระงานที่เรียนรู้ที่ได้รับมอบหมาย และมีส่วนร่วมจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น
ขั้นตอนที่ 2 : การนำเสนอข้อมูลใหม่ การถ่ายทอดข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียนผ่านวิธีต่างๆ
     การอธิบาย-พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อคำถาม
                      -ถามทีละขั้นตอน
     การสาธิต-การเรียนการสอนที่ซับซ้อน เครื่องมือมีจำกัด  
                    -คำนึงถึงความปลอดภัย
                    - ต้องมีทักษะการคิดระดับสูง
     ตำรา-แหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
     แบบฝึกหัดและการฝึกเขียนสำหรับผู้เรียน
           -การจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
                         การสอนโดยตรง                                      
     การสอนตามความสนใจ คือการสอนแบบ 4 MAT มีขั้นตอนการสอน ดังนี้
     1. ให้แต่ละคนตระหนักด้วยตนเองว่า ทำไมต้องเรียน
     2. วิเคราะห์ประสบการณ์
     3. ปรับประสบการณ์ เป็นความคิดรวบยอด
     4. หาความรู้เพิ่ม
     5. ทำตามแนวความคิดที่กำหนด
     6. ลงมือทำโดยสร้างชิ้นงาน ตามความถนัด และความสนใจ ให้เหมาะสมด้วยตนเอง
     7. วิเคราะห์ผล
     8. แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกับผู้อื่น หรือประยุกต์ใช้

      โสตทัศนูปกรณ์-ความน่าสนใจและแม่นยำในการ 
                                  นำเสนอข้อมูลใหม่
ขั้นตอนที่ 3: การแนะแนวทางการปฏิบัติ การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการนำไปประยุกต์ใช้
     สาระเบื้องต้น คือ การยืนยันความถูกต้อง เพื่อความแน่ใจ และการให้แนวคิด และข้อเสนอแนะ
     ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทำงานเป็นรายบุคคล แม้ว่าการทำงานเป็นกลุ่ม จะเป็นที่ยอมรับก็ตาม
     โอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับได้แก่: การตอบคำถาม การแก้ปัญหา การสร้างโครงสร้างต้นแบบ วาดแผนภูมิ สาธิตทักษะ


                3. นำเสนอนวัตกรรม ในการจัดการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สนใจ
                                            ตัวอย่างนวัตกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                1. รายงานการวิจัย ผลการพัฒนาความสามารถด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                2. ชุดพัฒนาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย
                 1) คู่มือการจัดทำศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                 2) เอกสารทางวิชาการเล่มที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                 3) เอกสารทางวิชาการเล่มที่ 2 เรียนรู้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์
                 4) เอกสารทางวิชาการเล่มที่ 3 นักวิทยาศาสตร์น้อย
                3. คู่มือแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

                4. รายงานผลการจัดทำ และการใช้ชุดพัฒนาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่4