วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

ข้อสอบกลางภาค ปีการศึกษา 2556 ข้อที่ 2

2. ในการพัฒนาหลักสูตรต้องอาศัยพื้นฐานการพัฒนาด้านใดบ้าง อย่างไร นักศึกษาเห็นว่าเนื้อหาสาระใดมีความสำคัญอย่างยิ่ง จงนำเสนอแนวคิดถึงความสำคัญ
                หลักการพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานสำคัญ 3 ด้าน คือ พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา พื้นฐานด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยแต่ละด้านมีความสำคัญ  ดังนี้
ด้านที่ 1  พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา
                ปรัชญามีส่วนสำคัญในการสร้าง  หรือพัฒนาหลักสูตร  การพัฒนาหลักสูตรนั้นจะใช้ปรัชญาช่วยในการกำหนดจุดประสงค์ ในการจัดหลักสูตรและการจัดการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเชื่อหรือยึดถือปรัชญาใด จะขอยกตัวอย่างการจัดหลักสูตรตามแนวของปรัชญาการศึกษาที่สำคัญดังนี้
ด้านความรู้ (K)
ปรัชญาสารัตถนิยม  (Essentialism)  มีความเชื่อว่า การศึกษาคือเครื่องมือในการสืบทอดมรดกทางสังคม ซึ่งก็คือวัฒนธรรมและอุดมการณ์ทั้งหลายอันเป็นแก่นสาระสำคัญของ สังคมให้ดำรงอยู่ต่อ ๆ ไป ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาจึงควรประกอบไปด้วย ความรู้ ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และวัฒนธรรม อันเป็นแก่นสำคัญซึ่งสังคมนั้นเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม สมควรที่จะรักษาและสืบทอดให้อนุชนรุ่นต่อ ๆ ไป การจัดการเรียนการสอนจะเน้นบทบาทของครูในการถ่ายทอดความรู้และสาระต่าง ๆ รวมทั้งคุณธรรมและค่านิยมที่สังคมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามแก่ผู้เรียน
ด้านผู้เรียน (L)
ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) มี แนวคิดว่า การศึกษาคือชีวิต หมายความว่า การที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะต้องอาศัยการเข้าใจความหมายของ ประสบการณ์นิยม ฉะนั้นผู้เรียนจึงควรจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของผู้เรียน และสิ่งที่จัดให้ผู้เรียนเรียนควรจะเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถ เข้าใจปัญหาชีวิตและสังคมในปัจจุบัน และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน  ปรัชญานี้ต้องการให้ผู้เรียนเรียนจากประสบการณ์ในชีวิตจริง  หลักสูตรจึงครอบคลุมชีวิตประจำวันทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมในประสบการณ์การเรียนรู้ทุกรูปแบบ  หลักสูตรจะเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคมตลอดจนชีวิตประจำวัน เนื้อหา ได้แก่ สังคมศึกษา วิชาทางภาษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่ความสำคัญของการศึกษา พิจารณาในแง่ของวิธีการที่นำมาใช้ คือ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในบทเรียน และนำเอากระบวนการแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ด้านสังคม (S)
                ปรัชญาปฏิรูปนิยม(Reconstructionism) ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า ผู้เรียนมิได้เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  วิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคมเป็นส่วนใหญ่จะเน้นวิชาสังคมศึกษาเช่น กระบวนการทางสังคมการดำรงชีวิตในสังคม สภาพเศรษฐกิจและการเมือง วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ศิลปะในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีความเข้าใจในกลไกของสังคม และสามารถหาแนวทางในการสร้างสังคมที่ดีขึ้นมาใหม่
ด้านที่ 2  พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
                ข้อมูลพื้นฐานด้านจิตวิทยาเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรซึ่งต้องศึกษาพื้นฐานด้านจิตวิทยาต่างๆเช่น จิตวิทยาพัฒนาการของกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน รวมทั้งศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ทั้ง 3 กลุ่ม คือกลุ่มพฤติกรรมนิยม  กลุ่มปัญญานิยม  และกลุ่มมนุษยนิยมเพื่อวิเคราะห์ประเด็นหลักๆนำมาจัดให้เหมาะกับการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
                แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม มีความเชื่อว่าการเรียนรู้และพฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ถ้าอยู่สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม  ลักษณะรูปแบบหลักสูตรจะเน้นเนื้อหาวิชาเป็นหลัก  โดยผู้สอนจะเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนการสอน โดยจะพัฒนาผู้เรียนไปตามที่ได้กำหนดไว้
                แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม จะเน้นการอธิบายพัฒนาการของมนุษย์ที่เน้นความสามารถทางสติปัญญา โดยเชื่อว่ามนุษย์เกิดการเรียนรู้ และแสดงพฤติกรรมได้โดยได้รับ
กระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา ลักษณะการจักหลักสูตรจะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนจะจัดตามลำดับของพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละวัยโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบค้นพบหรือการแก้ปัญหา  เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีการคิดแบบวิทยาศาสตร์
                แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยวิทยา เชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพพร้อมที่จะพัฒนา  มีศักดิ์ศรีมีสิทธิที่จะเลือกและกระทำตามความมุ่งหวังของตน  ลักษณะการจัดหลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม โดยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ให้ผู้เรียนได้สำรวจค้นพบตัวเองโดยผู้เรียนไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ  การประเมินผลจะให้ผู้เรียนประเมินผลด้วยตนเอง  โดยผู้สอนเปิดโอกาสและกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักรับผิดชอบและเตรียมตัวสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต
ด้านที่ 3  พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคมและวัฒนธรรม

                ในการพัฒนาหลักสูตรข้อมูลพื้นฐานจากสังคมและวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดเนื่องจากโรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคม  สมาชิกของสังคมเป็นผู้สร้างและพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้สนองความต้องการของสังคมนั้นๆ ดังนั้น  หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นจึงจำเป็นต้องศึกษาสังคม วัฒนธรรม เพื่อการถ่ายทอดวัฒนธรรมไปสู่รุ่นต่อๆไปได้แก่ ภาษา ศีลธรรม ศาสนา เจตคติและระบบของความรู้ หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางสังคม แนวทางแก้ไข มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจสังคมเข้าใจตนเองสามารถดำเนินบทบาทของตนให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีความสุข  พื่อให้สนองความต้องการของสังคมนั้นๆ     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น