3.
การพัฒนาหลักสูตรมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่าง Model
อธิบายองค์ประกอบแต่ละ Model และสรุปความเห็นกรณีที่องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร
หายไปจะเกิดอะไร
ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต้องตอบสนองทั้งด้านผู้เรียน ด้านสังคมและด้านความรู้
โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ พื้นฐานทางสังคม พื้นฐานทางจิตวิทยาและพื้นฐานทางปรัชญา ข้าพเจ้าจะขอยกตัวอย่างรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรของ
Ralph W. Tyler
รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตร ราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์
(Ralph W. Tyler) มีดังนี้
รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตร ราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์ เป็นแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่รู้จักกันดี คือ
หลักการและเหตุผลในการสร้างโครงสร้างหลักสูตร ว่าในการจัดการหลักสูตรและการสอนนั้นควรจะตอบคำถามพื้นฐาน
4 ประการที่สำคัญ คือ
1.
มีความมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะแสวงหา
2.
มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
3.
จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ
4.
จะประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
โดยไทเลอร์ได้เน้นว่าคำถามจะต้องเรียงลำดับกันลงมา
นั่นก็หมายความว่าการตั้งจุดมุ่งหมายจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของไทเลอร์ ดังนั้นการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาให้ผู้เรียน
และการประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรด้วย
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
การพัฒนาหลักสูตรจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร เริ่มด้วยการกำหนดจุดประสงค์ชั่วคราวโดยอาศัยข้อมูลจากการศึกษาสังคม
ศึกษาผู้เรียน
และข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชามาช่วยกำหนดจุดประสงค์อย่าง คร่าวๆ
ซึ่งอาจมีมากกว่าที่จะจัดเข้าไว้ในหลักสูตรได้ทั้งหมด จึงควรกลั่นกรองให้เหลือไว้เฉพาะจุดที่สำคัญและสอดคล้องกัน
เป็นจุดประสงค์ขั้นสุดท้าย หรือจุดประสงค์ที่ใช้จริง
ในการพิจารณากลั่นกรองจุดมุ่งหมายชั่วคราวนั้น จะใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้และหลักปรัชญามาประกอบการกลั่นกรอง
ขั้นที่ 2 การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนหลังจากกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตรแล้ว ขั้นต่อมา
ทำการเลือกประสบการณ์การเรียน อันเป็นสื่อที่จะทำให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ในการเลือกประสบการณ์การเรียนจะต้องคำนึงถึง ลำดับก่อนหลัง
ความต่อเนื่องและบูรณาการ (Integraty)
ของประสบการณ์เหล่านั้น ทำได้ดังนี้
2.1
ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรมและเรียนรู้เนื้อหาตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
2.2 กิจกรรรมและประสบการณ์นั้นควรจะทำให้ผู้เรียนพึงพอใจที่จะปฏิบัติตามพฤติกรรมที่ได้ระบุไว้ในจุดประสงค์ 2.3 กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรจะอยู่ในขอบข่ายความพอใจที่พึงปฏิบัติได้
2.4 กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆด้านของการเรียนรู้อาจนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียว
2.5 ในทำนองเดียวกันกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพียงหนึ่งอย่างอาจตอบสนองจุดประสงค์หลายๆข้อได้
ขั้นที่ 3 การประเมินผล เพื่อที่จะตรวจสอบว่าการจัดการเรียนการสอนได้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่
2.2 กิจกรรรมและประสบการณ์นั้นควรจะทำให้ผู้เรียนพึงพอใจที่จะปฏิบัติตามพฤติกรรมที่ได้ระบุไว้ในจุดประสงค์ 2.3 กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรจะอยู่ในขอบข่ายความพอใจที่พึงปฏิบัติได้
2.4 กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆด้านของการเรียนรู้อาจนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียว
2.5 ในทำนองเดียวกันกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพียงหนึ่งอย่างอาจตอบสนองจุดประสงค์หลายๆข้อได้
ขั้นที่ 3 การประเมินผล เพื่อที่จะตรวจสอบว่าการจัดการเรียนการสอนได้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่
องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ มีดังนี้
1. จุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดผล2. ประสบการณ์ ที่โรงเรียน
3. วิธีการจัดประสบการณ์
4. การประเมินผล
จะเห็นได้ว่าในองค์ประกอบของหลักสูตรแต่ละองค์ประกอบนั้น
ก็มีความสำคัญในตัวของมันเอง เราไม่สามารถตัดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งออกไปได้
เช่นหากไม่มีจุดมุ่งหมายแล้วก็ไม่สามารถดำเนินการจัดทำหลักสูตรได้
หากไม่มีประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดให้ก็ไม่มีส่วนใดที่เป็นสื่อในการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้
การเลือกวิธีจัดประสบการณ์ก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อส่งเสริมการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสุดท้ายการประเมินก็เป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นนั้นดีแล้วหรือไม่ เช่นนี้แล้วการพัฒนาหลักสูตรนั้นต้องมีองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบที่เหมาะสมและส่งเสริมกันและกันจึงจะทำให้หลักสูตรออกมาประสบผลสำเร็จ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น